App Jp Ling

8 : 時間

สวัสดีค่าาาา เอนทรี่นี้คงจะเป็นเอนทรี่สุดท้ายก่อนที่อาจารย์จะเข้ามาตรวจแล้วค่า 5555
เทอมนี้พวกเราเอกญี่ปีสามก็ได้ผ่านงานต่างๆที่ประดังเข้ามาและหนักหน่วงมากมาเยอะมากกกกกใช่มั้ย
แต่ละงานที่ได้ทำก็แบบ...ต้องแข่งกับเวลาตลอดเลย ลุ้นตลอดว่าจะทำเสร็จมั้ยนะ ถ้าไม่ทันนี่เราจะทำไงดี อะไรแบบนี้ 555
ในเอนทรี่นี้เลยลองไปหาcollocationของคำว่า「時間」ดูค่ะ ไปดูกันเลย ♪~(´ε` )

・時間がかかる
ความหมาย ต้องใช้เวลาพอสมควร

・時間が経つ
ความหมาย เวลาผ่านไป

・時間ができる
ความหมาย มีเวลาว่าง

・時間をかける
ความหมาย ใช้เวลาในการทำบางสิ่งบางอย่าง

・時間を費やす
ความหมาย ใช้เวลาอย่างมากกับบางสิ่งบางอย่าง

・時間を割く
ความหมาย เจียดเวลา

・時間を稼ぐ
ความหมาย กระทำบางอย่างเพื่อยืดเวลาให้ได้เตรียมตัวก่อน

・時間を共有する
ความหมาย ใช้เวลาร่วมกัน

・時間を潰す
ความหมาย ฆ่าเวลา

・営業時間
ความหมาย เวลาทำการ

คำที่เกี่ยวกับเวลานี่เจอคำศัพท์น่าสนใจเยอะแยะเลย น่าเอาไปใช้มากヽ(=´▽`=)ノ
บล็อกนี้ก็คงได้อัพถึงแค่นี้นะคะ ได้มีประสบการณ์ทำบล็อกอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกก็รู้สึกสนุกดีค่ะ แม้ว่าจะมีบางช่วงที่เหนื่อยๆแล้วรู้สึกท้อ ไม่อยากจะคิดไม่อยากจะอัพอะไรแล้วบ้างก็ตาม แต่พอลองมาคิดย้อนดูแล้วมันก็เป็นอะไรที่ฝึกให้เราได้ค้นหาความรู้รอบตัวโดยตนเอง ทำให้รู้สึกขวนขวายในการหาความรู้ต่างๆใกล้ตัวขึ้นมาค่ะ 555 ถ้ามีโอกาสก็อยากจะกลับมาอัพอีก แต่ไม่รู้จะได้ทำจริงมั้ย ขอบคุณอาจารย์ที่ให้โอกาสค้นคว้าหาความรู้นะคะ (*^_^*)

7 : 飲む

สวัสดีค่ะ

ช่วงนี้ไม่ได้อัพบล็อกเลย อยากจะมาอัพบล็อกส่งท้ายซะหน่อย ช่วงนี้อากาศร้อนมากกก แล้วดื่มน้ำบ่อยมากเลยลองหาcollocation ของคำว่า 「飲む」จากninjalดูค่ะ555 ไปดูกันเลย


・息をのむ
ความหมาย ตกใจจนหยุดหายใจไปชั่วครู่

・固唾を飲む
ความหมาย ห่วงใยเรื่องราวความเป็นไปจึงรู้สึกตื่นเต้น

・要求をのむ
ความหมาย ยอมทำตามความต้องการ

・条件をのむ
ความหมาย ยอมรับเงื่อนไข

・声をのむ
ความหมาย รู้สึกตื่นเต้น ตกใจ ประทับใจมากเสียจนพูดไม่ออก หรือ กำลังจะพูดแล้วก็หยุดไป

・言葉をのむ
ความหมาย รู้สึกตกใจ ประทับใจมากเสียจนพูดสิ่งที่กำลังจะบอกไม่ได้ หรือ คิดคำนึงถึงความรู้สึกอีกฝ่ายจึงพูดไม่ออก



ลองค้นๆข้อมูลดูแล้วคำว่า「飲む」มีความหมายอื่นนอกจาก"ดื่ม"ด้วยนะคะ แต่ถ้าใช้ในความหมายนอกจาก"ดื่ม" เหมือนต้องใช้เป็นคู่คำเฉพาะไปเลยหรือเปล่า? ทำให้ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยๆเท่าคำที่แปลว่า"ดื่ม"

แล้วตอนที่หาข้อมูลเกี่ยวกับคำว่า「飲む」เนี่ย ก็ไปเจอเว็บนึงเขาบอกว่า
ถ้าใช้คำว่า「飲む」ในความหมายว่าดื่มของเหลวก็ให้เขียนเป็นคันจิ「飲む」แบบที่เราคุ้นเคย
แต่ถ้าใช้ในความหมายอื่นก็ให้เขียนว่า「のむ」เป็นฮิรางานะค่ะ

วันนี้ก็ขออัพแค่นี้ก่อนนะค้าาา (^O^)/

New me

ครั้งนี้ก็เล่าเรื่องเดิมอีกแล้วนะคะ แต่เล่าใหม่อีกรอบ ไปดูกันเลยว่าเปลี่ยนแปลงจากครั้งก่อนๆบ้างมั้ย

 えーっと、ホテルのロビーのソファーで男性が、ソファーの上に座っています。(あー)その男性はあー、ぼんやり座っていて、何もしていません。それで、それであー、男性の目の前に地図を片手に持った、持って、カメラを首にぶら下げてる外国人がいました。(あー)その男性はその外国人と目があっ、合いました。(へえ)すると、外国人は笑って、ソファーに座っている男性の所に歩いてきました。男性は、男性は、外国人が歩いてくると、いきなり、その男性の横には新聞紙を読んでいるもう一人の男性がいて、その新聞紙を読んでいる男性のところに、近くにいって、一緒に新聞を読みました、(あー!)外国人は驚いて、男性のその行動に驚いているようです。(はい)
                内省:ครั้งนี้ตอนที่เล่าก็พยายามใช้คำศัพท์ที่ได้จากการเรียนและจากการสังเกตเล่าของคนญี่ปุ่น ดังนั้นน่าจะทำให้เรื่องฟังง่ายขึ้น ไม่เล่าแบบยืดยาวเกินไปและเข้าใจยากเหมือนครั้งก่อนๆ ตอนต้นก็พยายามเล่าให้สั้นลงโดยเล่าเพียงผู้ชายที่นั่งเหม่อลอยอยู่บนโซฟา ไม่อธิบายถึงผู้ชายอีกคนที่นั่งอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ข้างๆเนื่องจากเห็นว่าเล่าข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ตั้งแต่ต้นน่าจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสับสน ส่วนในตอนที่เปลี่ยนมาเป็นผู้ฟังเรื่องเล่าของเพื่อนก็พยายามมีあいづちให้มากขึ้นเพื่อแสดงว่าเรามีส่วนร่วมไปกับผู้ฟัง และแสดงการตอบสนองต่อเรื่องเล่าของผู้ฟัง โดยใช้คำว่าはい、へえเป็นต้น

6 : 小さい

สวัสดีค่ะ

วันอังคารที่ผ่านมาได้ทำการบ้านเกี่ยวกับการเปลี่ยนคำพูดที่เป็นแง่บวกเป็นแง่ลบในวิชา  Jap con
รู้สึกว่ายากมากกกก อย่างคำว่า きれいじゃない เนี่ย ก็เขาไม่สวยจะให้พูดเป็นแบบไหนอีก? 555
ก็เลยลองไปค้นๆในเน็ตก็เจอคำว่า 個性的な顔立ち ก็ตลกดี ใช้คำนี้จะทำให้ความรู้สึกลบมันเบาลงเหรอ? ถ้าเป็นตัวเองโดนคนพูดคอมเม้นว่า 個性的な顔立ち เราก็คงงงแบบ เอ้ะ นี่อะไรเนี่ยหมายความว่าไง แต่คงรู้สึกว่าไม่ได้รับคำชมอย่างแน่นอน (-_-;)

ก็ขอมาเข้าเรื่องกันหน่อย คือว่าในการเปลี่ยนคำที่มีความหมายแง่ลบมาเป็นความหมายแง่บวกเนี่ย มีคำว่า 背が低い ด้วย นี่ก็ไม่รู้จะเปลี่ยนเป็นแบบไหนอีกเลยไปค้นๆในเน็ตอีกแล้ว ก็เจอกับคำว่า 背が小さい(จำไม่ได้ว่าเว็บไหน) แล้วในคาบเรียนก็มีเฉลยบอกว่าควรใช้ かわいい/小柄/体が小さい แล้วอาจารย์ก็ถามเรามาว่าเจอคำอื่นๆอีกมั้ย? เราก็เลยลองตอบคำที่เจอในเน็ตว่า 背が小さい อาจารย์ก็บอกว่าคำนี้ไม่ค่อยเหมาะนะ ดูแปลกๆ ถ้าจะพูดถึงส่วนสูงก็พูดว่า 背が低い・背が高い จะดีกว่า เป็นแพทเทิร์นอยู่แล้ว แต่ถ้าอยากใช้คำว่า小さいก็เลี่ยงไปใช้คำว่า 体が小さい น่าจะดีกว่า ก็รู้สึกว่าดีที่ได้พูดออกไปไม่งั้นอาจจะจำมาผิดๆแล้วเอามาใช้ไปเลยก็ได้ ได้เตือนสติว่าเจออะไรในเน็ตถ้าไม่ใช้เว็บที่เชื่อถือได้จริงๆก็อย่าไปเชื่อมันให้มากนะ 5555 วันนี้ก็เลยลองหา collocation ของคำว่า 小さい จากเว็บ ninjal ดูค่ะ

・声が小さい/小さい声
มีความหมายว่า เสียงเบา

・気が小さい
มีความหมายว่า ขี้ขลาด ขี้กลัว

・器が小さい
คำนี้ดูเป็นคำที่ไม่ค่อยเห็น คำอธิบายจากเว็บนี้บอกว่า
คำนี้มีความหมายคล้ายๆกับใจแคบ หรือใช้บอกว่ามีความสามารถน้อยก็ได้
ตรงข้ามกับคำว่า 器が大きい ที่หมายความว่าใจกว้าง ไม่คิดเล็กคิดน้อย ให้อภัยกับความผิดพลาดของผู่อื่น

・小さい頃
มีความหมายว่า สมัยเด็ก ในวัยเด็ก

วันนี้ก็ขอนำเสนอแค่นี้ก่อนนะค้าา (^O^)/

I see

สวัสดีค่ะ
บล็อกนี้ก็จะเป็นการบ้าน storytelling ชิ้นที่ 2 นะคะ
คราวนี้บองเปลี่ยนการเล่าเรื่องเป็นแบบนี้

ホテルのロビーのソファーに男性がぼんやり座っていた。すると、片手に地図を持って、カメラを首にぶらさげている外国人男性と目が合った。外国人は笑って男性の方へ歩いてきた。どうやら、男性に道を聞くつもりのようだ。男性は外国人と話をしたくないように見える。彼は英語が苦手なのかもしれない。それで、男性の隣に座っていた新聞紙を読んでいるビジネスマンのような男性の新聞の影に隠れた。ビジネスマンと外国人は男性の行動に驚いているようだ。

               
内省 :นิสัยการพูดของตนเองกับคนญี่ปุ่นต่างกัน คือ  คนญี่ปุ่นค่อนข้างจะใช้คำที่สั้น กระชับ และสื่อความง่าย อย่างเช่น 目が合う、行動、近寄るตอนเล่าเรื่องในคาบก่อนๆก็รีบพูดไป คิดคำไหนออกก็พูดไปเลยโดยไม่ได้ไตร่ตรอง ทำให้ใช้คำที่เคยใช้บ่อยๆเป็นนิสัย คำพวกนี้ก็อาจจะพอสื่อความได้แต่ไม่ได้กระชับและเข้าใจง่ายเหมือนคำศัพท์ที่คนญี่ปุ่นใช้ ทำให้เรื่องดูยืดยาว ไม่กระชับและผู้ฟังอาจต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจมากกว่าฟังเรื่องที่สั้นกระชับ

By myself

สวัสดีค่ะ
วันนี้จะอัพบล็อกเกี่ยวกับ storytelling นะคะ
เรื่องที่ได้อธิบายก็เป็นเรื่อง外国人นี้ค่ะ


มาดูกันเลยว่าได้อธิบายไปแบบไหน :)

ホテルであー・・・ソファーがあって、あー二人の男の人が座っています。一人は新聞を読んでいて、もう一人は座っているだけで何もしていません。あーแล้วก็ เอ้ยそれで座って、เอ่อ何もしていない男の人は、あー外国人の男の人を見つけました。外国人の男の人は地図を持っていて、あー何か、道を聞きたそうです。それで、外国人の人は、あー何もしていない男の人の所に歩いてきました。อืมあー、それで、何もしていない男の人はあー新聞を読んでいる男の人のところに行って、一緒に新聞を読んで、忙しいふりをしました。

ตรงที่รู้สึกว่าไม่สามารถพูดได้ดีคือตรงช่องสองที่ผู้ชายคนที่นั่งอยู่ที่โซฟากับชาวต่างชาติสบตากัน ตอนนั้นนึกออกเป็นภาษาไทยว่าสบตาแต่คิดคำว่าสบตาในภาษาญี่ปุ่นไม่ออก ;_; เลยรีบๆคิดแล้วเปลี่ยนไปพูดว่า見つけたเหมือนกับหาของเจอยังไงไม่รู้ 5555 แต่ตอนนี้รู้แล้วนะว่าใช้คำว่า 目が合う เย้ๆ
กับคำอธิบายของผู้ชายที่ไม่ได้ทำอะไรก็อธิบายไปว่า何もしていないแต่ก็ดูยืดยาวไปหน่อย น่าจะหาคำอื่นที่สั้นๆฟังแล้วเข้าใจง่ายกว่านี้
ตอนแรกที่อธิบายว่ามีผู้ชายสองคนนั่งอยู่ที่โซฟาก็ดูเวิ่นเว้อไปหน่อยแต่ไม่รู้จะอธิบายให้เข้าใจยังไงดี น่าจะอธิบายผู้ชายอ่านหนังสือพิมพ์ทีหลังก็ได้หรือเปล่า เพื่อให้ผู้ฟังโฟกัสไปที่ผู้ชายที่นั่งอยู่ที่โซฟากับชาวต่างชาติ คิดว่าถ้ามีตัวละครเยอะๆตั้งแต่แรกจะทำให้ผู้ฟังสับสนหรือเปล่าว่าคนไหนเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญ?

5 : 起こる・起きる

สวัสดีค่ะ

หลังจากที่ผ่านสัปดาห์มิดเทอมอันโหดร้ายมา(จริงๆก็ยังเหลือสอบอีกตัวหนึ่ง)ก็ได้ฤกษ์อัพบล็อกสักทีค่ะ
ช่วงนี้ก็หาข้อมูลคำศัพท์จากเว็บไซต์ต่างๆแล้วก็เจอเว็บน่าสนใจดีค่ะชื่อ NHK放送文化研究所
พอเข้าหน้าเว็บไปก็จะเจอหน้าหลักเป็นแบบนี้




แล้วพอเราคลิกเข้าไปตรงที่เขียนว่า ことば(放送用語) ก็จะเจอพวกคอลัมน์อธิบายคำศัพท์ต่างๆค่ะ




เท่าที่ดูผ่านๆส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกอธิบายศัพท์ที่ใช้ในการประกาศข่าวอะไรแบบนี้แต่ก็รู้สึกว่าก็ไม่ได้เป็นคำที่ยากเอามาใช้กับการพูดการเขียนก็น่าจะได้ค่ะ แล้วเขาก็อธิบายวิธีการใช้ที่ถูกต้องให้ด้วย
ที่ดูแล้วรู้สึกว่าสนุกดีคือคอลัมน์ชื่อ「最近気になる放送用語」เพราะเขาอธิบายศัพท์ที่คนใช้กันไม่ค่อยถูก หรือเข้าใจผิดๆไปมาอธิบายวิธีการใช้ให้ถูกต้องอะไรแบบนี้ค่ะ
ที่เจอเว็บนี้ก็เพราะรู้สึกว่างงความแตกต่างระหว่าง起きるกับ起こるเลยลองไปหาในกูเกิ้ลดูก็เจอเว็บนี้ขึ้นเป็นอันดับแรกก็อธิบายได้เข้าใจดีค่ะ



ในเว็บนี้ก็อธิบายว่า「起きる」จะมีความหมายว่าตื่น ลุกขึ้นจากสภาพที่นอนอยู่ ดังนั้นประธานก็จะเป็นคนหรือสัตว์
แต่คำว่า「起こる」นั้นจริงๆแล้วใช้ในตอนทีพูดว่าเกิดสภาพหรือสถานการณ์ต่างๆ เช่นเกิดโรค เกิดภัยธรรมชาติ เป็นต้น ประธานก็จะเป็นเหตุการณ์หนึ่ง
แต่ในปัจจุบัน「起きる」ก็ใช้แทน「起こる」ได้ค่ะ แต่คนสมัยก่อนก็อาจจะรู้สึกแปลกๆบ้างเพราะไม่ใช่วิธีใช้แบบดั้งเดิม

ตอนนี้ก็เข้าใจความแตกต่างระหว่าง「起きる」กับ「起こる」แล้วเลยลองหาcollocation ของคำนี้จากเว็บninjalดูค่ะ

・変化が起こる
หมายความว่า มีความเปลี่ยนแปลง(เกิดขึ้น)

・各地で起こる
หมายความว่า เกิดขึ้นในหลายๆพื้นที่
各地 มีความหมายว่า หลายพื้นที่ 

・同時に起こる
หมายความว่า เกิดขึ้นพร้อมกัน

・地震が起こる
หมายความว่า เกิดแผ่นดินไหว

เท่าที่ไปดูในninjalมาก็พบว่าส่วนใหญ่คำว่า「起きる」กับ「起こる」ใช้แบบแทบจะเหมือนกันเป๊ะเลยตามคำอธิบายข้างบน อย่างเช่น 地震が起きる/地震が起こる ก็เลยคิดว่าคนญี่ปุ่นเขาคงไม่ค่อยซีเรียสกับความแตกต่างของ2คำนี้แล้วมั้งยกเว้นแต่จะใช้แทนกันไม่ได้จริงๆ แล้วพอดูในninjalความถี่การใช้「起こる」จะมากกว่า「起きる」ดังนั้นถ้าไม่รู้จะใช้คำไหนจริงๆก็ใช้「起こる」น่าจะโอเคกว่า?มั้ง
ยังไงก็คิดว่าเวลาจะใช้「起きる」กับ「起こる」ควรดูให้ดีว่าประธานเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตน่าจะทำให้แยกใช้ได้อย่างถูกต้องที่สุด(╹◡╹)

จริงๆนอกจากที่ยกตัวอย่างการใช้「起こる」ในข้างบนก็มีคำน่าสนใจมากมายค่ะใครอยากจะดูเพิ่มก็กดลิ้งก์นี้เข้าไปดูได้เลยค่า